การขยายพันธุ์พืชแบ่งออกเป็น 2 แบบคือการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศได้แก่การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด กับ การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ได้แก่การขยายพันธุ์โดยการใช้ส่วนต่างๆ ของต้นพืช เช่น การปักชา การตอนกิ่งการติดตาการต่อกิ่งรวมถึงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยือ
การขยายพันธุ์พืชแบบอาศัยเพศหรือด้วยเมล็ด
เป็นการขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณต้นพืช ที่ได้จากการผสมเกสรระหว่างอับละออง
เกสรตัวผู้กับยอดเกสรตัวเมีย เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ต้นพืชที่เติบโตจากเมล็ดเรียกว่าต้นกล้า
ถ้าใช้เมล็ดพืชที่ไม่มีการควบคุมคุณภาพต้นพืชที่ได้อาจมีการกลายพันธุ์ นิยมใช้กับ
พืชประเภทพืช ไร่ เช่น ข้าว ถั่ว เขียว ข้าวโพด และข้าวฟ่าง ผัก เช่น คะน้า กวางตุ้ง
กะหลํ่าปลี และกะหลํ่าดอก ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ดาวเรือง กล๊อกซีเนีย พิทูเนีย
และเบญจมาศ และไม้ผลบางชนิด เช่น มังคุด ลางสาด และลองกอง
การเพาะเมล็ดพืชในภาชนะหรือแปลงเพาะ
เป็นการเตรียมต้นกล้าเพื่อใช้ก่อนปลูกลงแปลงหรือกระถาง เหมาะสำหรับเมล็ดพืช
ที่มีราคาแพง เนื่องจากเมล็ดมีโอกาสสูญเสียน้อย นิยมใช้กับพืชผัก หรือไม้ดอกอายุสั้น
รวมทั้ง ไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น เมล็ดมขนาดเล็ก เช่น มะเขือเทศ กะหล่ำดอก แอสเทอร์ พิทูเนยี
การเพาะเมล็ดพีช ในภาชนะเพาะ และการเพาะเมล็ด พืช ในแปลงเพาะ
การเพาะเมล็ดพืชในภาชนะเพาะ
เป็น การเพาะเมล็ด ในกระบะ นิยมใช้ในการปลกู พืช ปริมาณน้อย เช่น การปลูก ผักสวนครัว
หลัง บ้าน การปลูก ไม้ดอกไม้ประด้บ ภาชนะที่ใช้เพาะควรมีน้ำ หนัก เบา ไม่แตกหักหรือ ผุพัง ง่ายมีรูระบายน้ำ ส่วนวัสดุที่ใช้เพาะควรมีลักษณะโปร่ง มีอากาศถ่ายเทดี อุ้มน้ำ ได้นานพอสมควรระบายนํ้าได้ง่าย ไม่เป็นกรดหรือด่างจัดจนทำให้ต้นกล้าไม่เจริญเติบโต มีวิธีปฏิบัติดังนี
ก. ใส่วัสดุที่ ก้นภาชนะเพาะเพื่อระบายน้ำ เช่น เศษอิฐหัก หรือเปลือกถั่วลิสง จาก
นั้นใส่ดินลงภาชนะให้ตํ่ากว่าขอบภาชนะเล็กน้อย ปรับหน้าดินให้เรียบ จากนั้นหว่านเมล็ดใน
ภาชนะเพาะโดยเรียงเป็น แถว หรึอ หว่านทั่วทั้ง ภาชนะก็ได้ กลบดิน ทับเมล็ด ให้แน่น พอประมาณรดนํ้าให้ชุ่มเพื่อให้เมล็ดได้รับความชื้น และงอกอย่างสมํ่าเสมอ
ข. เมื่อเมล็ดงอก 7 – 10 วัน ทำการย้ายต้นกล้าโดยใช้แท่งดินสอที่ปลายไม่แหลมมาก
แทงลงในวัสดุเพาะข้างๆ ต้นกล้า เพื่อทำให้วัสดุเพาะหลวมในขณะที่อีกมือค่อยๆ ดึงต้นกล้า
ขึ้นมา
ค. เมื่อได้ต้นกล้าแล้วให้ใช้ดินสอแทงลงกึ่งกลางถุงที่ใส่วัสดุปลูก ให้ถึงก้นกระถาง
หรือถุง จากนั้นนำต้นกล้าใส่ลงในหลุมให้ใบเลี้ยงอยู่ระดับผิววัสดุปลูก กลบหลุมแล้วให้นํ้า
แบบฝอยละเอียดจนนํ้าไหลออกก้นถุง จากนั้นนำต้นกล้าไปไว้ในที่ร่ม เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้
ให้ร้บนำ ออกรับแสงเพี่อไม่ให้ต้นกล้า ยืดประมาณ 2 สัปดาห ์ ต้นกล้าจะมีใบจริงประมาณ 6 ใบ
ซึ่งพร้อมที่จะย้ายปลูกลงกระถางที่ใหญ่ขึ้นหรือ ลงแปลงปลูกต่อไป
การเพาะเมล็ดพืชในแปลงเพาะ
– เตรียมแปลงเพาะเลือกดินที่มีความสมบูรณ์ กำจัดวัชพืชออกให้หมด วางแปลง
เพาะให้หัวและท้ายของแปลงอยู่ในแนวทิศเหนือและทิศใต้ ขนาดความยาว 6 เมตร
กว้าง 1.20 เมตร ตากดิน ให้แห้งเพื่อให้แปลงเพาะไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืชย่อยดินให้ละเอียด
ใสปุ่ยคอกใหัเหมาะสมตามความสมบรูณและชนิด ของดิน รดน้ำให้ชี้น จากนััน ย่อยดินให้ทั่ว แปลงขึ้นรูปแปลงสูงจากพื้นดิน 15 – 20 เซนติเมตร
– หว่านเมล็ดในแปลงเพาะ นิยมหว่านทั่วแปลง ถ้าแปลงมีขนาดกว้างให้แบ่งหว่าน
ที่ละครึ่ง กรณีที่เมล็ดมีขนาดเล็ก หรือย่อยดินไม่ละเอียด ให้ใช้ปุ๋ยคอกหว่านให้ทั่วแปลง
จากนั้นรดนํ้าเพื่อให้ปุ๋ยคอกลงไปอุดช่องดิน ป้องกันไม่ให้เมล็ดตกลงไปตามซอกดิน จึงหว่าน
เมล็ดบางๆ ก่อนแล้วหว่านทับ อีกครั้ง กลบดินทับเมล็ด
– ทำร่มให้ต้นกล้าในแปลงเพาะ ตั้งแต่ต้นกล้าเริ่มงอกจนถึงระยะย้ายปลูก
เพื่อป้องกันสภาพแวดล้อมท่ไี ม่เหมาะสมต่อการงอก โดยเฉพาะแสง
– ดูแลรักษาต้นกล้า หลังจากที่งอกพ้นผิวดินให้ต้นกล้ารับแสงทันทีจะช่วยให้ต้น
กล้าเจริญเติบโตแข็งแรงในระยะที่ต้นกล้ายังเล็กให้น้ำเป็นละอองพ่นหมอก 4 ชั่วโมงต่อครั้ง
ครั้งละ 10 นาที
– ในกรณีที่หว่านเมล็ดหนาเกินไป เมื่อเมล็ดงอกจะเบียดเสียดกันให้ย้ายต้นกล้า
ไปปลูกชั่วคราวในภาชนะเพาะที่สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ก่อนที่จะย้ายลงแปลง
– ให้รดน้ำในแปลงเพาะให้ชุ่มก่อนถอนต้นกล้าเพื่อสะดวกในการปฏบัติงานและต้นกล้าได้รับการกระทบกระเทือนน้อยที่สุด
– เตรียมวัสดุปลูกเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ด
– ใช้ดินสอแทงลงกึ่ง กลางถุง ที่ใส่วัสดุปลูกลึกจนถึง ก้นถุงจากนั้นนำ ต้นกล้าใส่ลงในหลุม โดยให้อยู่ระดับที่ใบเลี้ยงอยู่ผิววัสดุปลูก แล้วให้น้ำแบบฝอยละเอียดจนนํ้าไหลออกก้นถุง
– ก่อนการย้ายต้นกล้าปลูกจำเป็นต้องทำให้ต้นกล้าแข็งแรง โดยรดนํ้าต้นกล้าให้น้อยลง หรือใช้โพแทสเซียมคลอไรด์ อัตราส่วน 1 : 250 ละลายนํ้ารดต้นกล้า 7 – 10 วัน ก่อนย้ายปลูก
– หลังปลูก ต้องรดน้ำใหชุ่มและทำร่มชั่วคราวจนกระทั่งต้นกล้าพืช ตั้งตัวได้
– ให้น้ำสม่ำเสมอ อย่าให้ต้นกล้าเหี่ยวเพราะขาดน้ำการให้ปุ๋ยจะช่วยให้
ต้นกล้าตั้งตัวเร็วขึ้นโดยใช้ปุ๋ยผสมที่มี ฟอสฟอรัส (P2O5) สูงเช่น
ใช้สูตร N : P : K = 10 : 52 : 17ํ อัตรา 2.3 – 2.7 กก.ต่อนํ้า 400 ลิตร